photography
ความหมายของการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Photography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Phos หมายถึง Light ที่หมายความถึง แสง และคำว่า Graphein หมายถึง writing การเขียน ดังนั้น Photography (การถ่ายภาพ) จึงหมายความว่า writing with light ซึ่งก็หมายความถึงการเขียนด้วยแสงหรือการทำให้เกิดภาพด้วยแสง
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้คำ จำกัดความว่า การถ่ายภาพ ว่า การถ่ายรูป คือบันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ชักรูป
ในพจนานุกรมแปล ไทย-ไทยของ อ.เปลื้อง ณ นครให้ความหมายการถ่ายรูปว่า ก. ถอดรูป, จำลองรูปด้วยวิธีฉายเงาบนกระจกหรือฟิล์ม ในส่วนของภาพถ่าย
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้คำ จำกัดความว่า คือ รูปถ่าย อันได้แก่น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบนแผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อให้รูปปรากฏ
การถ่ายภาพนั้นมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมากนับตั้งแต่มีการค้นพบการถ่ายภาพ ภาพถ่ายถูกใช้ในกิจกรรมต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
•ภาพเพื่อใช้ในการบันถึงเป็นหลักฐาน อันได้แก่ภาพข่าว ภาพหลักฐานในการพิจารณาคดีและการสอบสวน ภาพถ่ายติดบัตร
•ภาพที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ
•ภาพที่ใช้ในการสื่อสารอันได้แก่ ภาพถ่ายโฆษณา ภาพถ่ายแฟชั่น ภาพถ่ายประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ
•ภาพถ่ายในฐานะงานศิลปะ ภาพถ่ายในฐานะที่เป็นเครื่องเตือนความทรงจำของแต่ละบุคคล
ภาพถ่ายในฐานะที่เป็นเครื่องเตือนความทรงจำของแต่ละบุคคล
จากการใช้งานที่หลากหลายของการถ่ายภาพทำให้ภาพถ่ายกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงและสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเอง ในบทนำของ หนังสือ ความสุขกับการถ่ายภาพที่จัดทำโดยบริษัทโกดัก ได้ยกคำพูด ของ เอินสท์ ฮาส ช่างภาพชาวออสเตรีย ที่ได้กล่าวว่า
“ ถ้าศิลปะแบบอื่นเป็นเสียงของวิสามัญชน การถ่ายภาพก็เป็นเสียงของสามัญชนนั่นเอง ด้วยสายตาที่เพ่งพินิจ ด้วยจิตนาการบางอย่างในหัวใจ ด้วยมืออันเขม็งแน่วรวมทั้งความรู้ในทางเทคนิคบ้างเล็กน้อย ใครๆก็อาจถ่ายภาพอันเป็นที่น่าสนใจได้”
ภาพถ่ายได้กลายเป็นของทุกคนและภาพถ่ายก็ได้กลายเป็นเครื่องมือที่บันทึกเหตุการณ์ที่ผ่านมาอย่างตรงไปตรงมา ราวกับว่าเหตุการณ์เหล่านั้นพึ่งเกิดขึ้น ภาพถ่ายกลายเป็นเสียงของผู้คน และได้กลายเป็นภาษาสากลที่ทุกคนในโลกสามารถเข้าใจได้
![]() |
ภาพจาก google.com |
ภาพถ่ายทำให้เรา เห็นอดีตอย่างน้อยที่สุดก็ตรงไปตรงมา ก่อนการมาถึงการถ่ายภาพ เราไม่มีทางรู้เลยว่าดวงหน้าในอดีตนั้นเป็นเช่นไร ภาพของพระราขาในอดีตเป็นเพียงจิตนาการตามข้อมูลตัวอักษรในพงศาวดารเท่านั้น คราบจนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่มีภาพถ่ายของพระองค์ทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาของอดีต
ภาพถ่ายพูดความจริงได้หรือไม่
ความจริงในภาพถ่าย เบื้อต้นก็คือสิ่งที่ปรากฏในภาพนั้น ถ้าสิ่งนั้นมีอยู่มันก็มีอยู่ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งปลอมภาพถ่ายก็เป็นภาพของสิ่งปลอม ตัวภาพที่เป็นสองมิติเป็นเพียงกรอบที่บรรจุ ชุดข้อมูลเท่านั้น
![]() |
Add http://pro.magnumphotos.com/C.aspx?VP3=SearchResult&VBID=2K1HZO4PZZVSN6&SMLS=1&RW=1280&RH=647caption |
![]() |
https://metmuseum.org/exhibitions/view?exhibitionId=%7B36d81705-241d-4934-ab02-fd7c8dbbb3e5%7D&oid=302289 |
![]() |
https://www.christies.com/lotfinder/Lot/steve-mccurry-b-1950-afghan-girl-5636201-details.aspx |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น