Character of Photography
ประกอบด้วยพื้นฐานหลัก คือ
Time
Time
ปัจจุบัน
เสี้ยวขณะ Peak Moment
เสี้ยวขณะตัดสินใจ
พื้นที่ /Space
การกำหนดกรอบ
การจัดวาง
วัตถุ
ต้องมีสิ่งของให้ บันทึก
เล่าเรื่องผ่านสิ่งของ
ความหมายของภาพถ่าย
ความหมายถูกสร้างจาก ผู้ถ่ายภาพหรือจากในสิ่งของที่อยู่ในภาพ
ความหมายที่ปรากฏ เป็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง subjective กับ Objectivism
ความหมายในภาพมีลักษณะที่เป็นตัวสัญญะ มีความเปลี่ยนแปรได้ ตามแต่ละบริบท\
ลักษณะทางกายภาพของภาพถ่าย
ความเป็นพื้นผิว ที่เป็นสองมิติ จำกัดอยู่ในขอบเขตของกรอบ
ความเป็นตัวแทนของสิ่งนั้น เรื่องนั้น เวลานั้น
ความหมายกลายเป็นความรู้สึกที่ สัมพันธ์กับผู้ชม
ระดับของ ความหมายในภาพถ่าย
ลักษณะทางกายภาพThe Physical LevelระดับของการบรรยายThe Depictive Level
ระดับของ จิตใจThe Mental Level
ภาพถ่ายเป็นภาพนิ่งสองมิติ อยู่บนแผ่นกระดาษ และอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเสมอ ดังนั้นผู้ดูภาพจะเห็นแค่สิ่งที่เกิดขึ้น บันทึกไว้ภายในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ ความเป็นจริงในภาพถ่ายเป็นเสมือนความเป็นจริงที่มองผ่านสายตาของช่างภาพ จอห์น ชาร์เคาสกี้ (John Szarkowski) อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ นิวยอร์ค ได้วิเคราะห์และสรุปลักษณะเฉพาะของงานภาพถ่ายที่อาจจะเปรียบเป็นแนวทางในการอธิบายรูปแบบของ ภาพถ่ายโมเดินนิสอเมริกัน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแยกออกเป็น 5 หัวข้อคือ
1 วัตถุรูปธรรมหรือความเป็นสิ่ง สิ่งนั้น (The Thing Itself)
2 รายละเอียด (The Detail)
3 กรอบ (The Frame)
4 เวลา (Time)
5 มุมมอง (Vantage Point)
1 วัตถุรูปธรรมหรือความเป็นสิ่ง สิ่งนั้น (The Thing Itself)
การถ่ายภาพคือการบันทึกสิ่งที่มีอยู่ คือความเป็นสิ่งของของตัวสิ่งนั้นเอง เบื้องต้นการสร้างภาพของภาพถ่ายเกิดจากสิ่งของที่กล้องได้บันทึก ตรงหน้า ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการถ่ายภาพ แมว ช่างภาพจะต้องหาแมวมาถ่ายภาพให้ได้ เขาหรือเธอจะไม่สามารถสร้างแมวขึ้นจากความว่างเปล่าโดยไม่มีแมวอยู่ตรงหน้าได้เลย แต่จิตกรสามารถสร้างแมวขึ้นมาได้ด้วยสีและภู่กันโดยไม่ต้องมีแมวอยู่ตรงหน้า (ถ้าหากทำขึ้นมาภาพสิ่งนั้นจะไม่ถูกเรียกว่าภาพถ่าย) ดังนั้นภาพถ่ายจึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างจากสิ่งที่มีอยู่จริงๆเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าสิ่งที่ของที่เป็นจริงนั้นตั้งอยู่ตรงหน้า ช่างภาพก็จำเป็นต้องนำเสนอรูปแบบที่เป็นการนำเสนอโลกแห่งความจริงในแบบที่ตนต้องการ เพราะภาพถ่ายกับสิ่งที่ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ภาพคือสิ่งที่เขานำเสนอต่อโลก ไม่ใช้สิ่งของที่เขาถ่าย
2 รายละเอียด (The Detail)
เมื่อสิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของสิ่งที่มีอยู่และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยกภาพในสตูดิโอที่สามารถจัดเหตุการณ์ได้ (หรือการจัดฉาก) แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะจัดหรือไม่จัดสิ่งที่ถูกบันทึกก็คือสิ่งที่มีอยู่จริงๆ (Thing Itself) ตั้งนั้นช่างภาพจำเป็นจะต้องนำเสนอรายละเอียด ของสิ่งที่มีให้ชัดเจนเพราะภาพถ่ายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหตุการณ์และห้วงเวลาทั้งหมด การนำเสนอรายละเอียดนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เนื้อหาของภาพปรากฏ สิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆเพื่อสร้างความหมาย หากแต่ไม่ใช้ความหมายของเหตุการณ์ทั้งหมด ภาพถ่ายเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆของเหตุการณ์ที่ใช้ส่วนของเหตุการณ์สร้างเนื้อหาและความหมาย ซึ่งหากภาพถ่ายไม่สามรถนำเสนอเรื่องราวในภาพได้ ภาพถ่ายก็ไม่สามารถนำเสนอตัวเองในสถานะของสัญลักษณ์ ได้
3 กรอบ (The Frame)
กรอบของภาพเป็นข้อจำกัดทางกายภาพสิ่งแรกของการถ่ายภาพ ในทางกลับกัน กรอบกลับเป็นเครื่องมือสำคัญในการแยกส่วนของเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องเลื่อนไหลไปตามเวลาของโลก ไม่ว่าเหตุการณ์การณ์นั้นจะยิ่งใหญ่หรือสำคัญเพียงใด ในภาพถ่ายเหตุการณ์เหล่านั้นมีขอบเขตแต่เพียงในกรอบของภาพ หรือในช่องมองภาพที่ช่างภาพได้เลือกแล้วว่าจะทำการเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือเรื่องของสิ่งนั้นเพียงใด การถ่ายภาพคือการเลือก สิ่งที่ปรากฏรายล้อมตัวผู้ถ่ายภาพ ช่างภาพจะเป็นผู้กำหนด เลือกว่าจะบันทึกภาพสิ่งใด นั่นก็คือการเลือกที่จะนำสิ่งใดเข้ามาในกรอบภาพ
4 เวลา (Time)
การถ่ายภาพคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเวลา ตั่งแต่กลไกการบันทึกภาพ เวลาของการเปิดรับแสง ช่วงเวลาที่ถูกหยุดไว้ ดังนั้นเวลาจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์ที่พิเศษกับภาพถ่ายเสมอ และแน่นอนว่าเวลาในภาพถ่ายคือปัจจุบันเสมอ ช่างภาพค้นพบเศษเสี้ยวของเวลาที่เห็นจากภาพ อันดวงตาปกติของมนุษย์ไม่มีวันเห็นได้ ดังเช่น มัวร์บริจน์ เห็นขาของม้าลอยในอากาศพร้อมๆกัน เมื่อภาพถ่ายได้หยุดเสี้ยวเวลานั้นไว้ ในทางตรงกันข้ามเขากลับสามารถเพ่งพินิจการลอยของขาทั้ง4 ได้ตราบนานเท่านานในภาพถ่าย เวลาในภาพเป็นปัจจุบันเสมอ ขาของม้าในภาพจะลอย ไม่มีวันไปต่อจากนั้น และสิ่งที่เกิดก่อนหน้านั้นก็จะเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะรับรู้ได้ เวลาในภาพถ่ายจึงมีเพียงปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีอดีต และไม่มีอนาคต
ช่างภาพจำเป็นต้องมองหาความงามในเศษเสี้ยวของเวลาให้ได้ ดังที่ คาเทียร์ เบรนซอง ได้กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ต้องตัดสินใจ ในการถ่ายภาพ ช่างภาพต้องหยุดการเลื่อนไหลของเวลา ที่มีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่เลื่อนไหลไปกับเวลาเข่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความรูปทรง จังหวะที่สมดุลเหมาะสม เพื่อทำให้ภาพที่ปรากฏนั้นเป็นภาพถ่ายที่สมบรูณ์
5 มุมมอง (Vantage Point)
มุมมอง คือสิ่งที่ถ่ายทอด ความคิด ของช่างภาพ การสร้างมุมมองก็คือการสร้างความคิด เมื่อช่างภาพเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือสิ่งของที่เขาหรือเธอต้องการจะบอกเล่าผ่านภาพถ่าย เขาจะต้องมีมุมมองที่สื่อสารความคิดของเขาได้ หากเขาสามารถเลื่อนปรับย้ายสิ่งที่เขาจะถ่ายภาพได้เพื่อมุมมองของเขาก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ หากเขาไม่สามารถย้ายสิ่งเหล่านนั้นได้ เขาก็ต้องย้ายตัวเอง
เมื่อพวกเขา(ช่างภาพ)เห็น ภาพรวมของเรื่องราวเหตุการณ์แล้ว เขาจำเป็นต้องสร้างมุมมองมากมายไม่ว่าจะเป็นมุมสูงมุมต่ำ มุมที่เข้าใกล้ หรือ ถอยห่าง เพื่อที่จะเป็นการจัดสรรสิ่งๆต่างในกรอบภาพให้สื่อสารสิ่งที่เขาคิดผ่านภาพถ่าย นอกจากนี้ ช่างภาพไม่เพียงแต่แสดงเหตุการณ์ออกมาผ่านภาพถ่าย เขาจำเป็นจะต้องใช้มุมมองในการสร้างความหมายที่เขาต้องการให้กับภาพถ่ายของเขาด้วย
รูปแบบการวิเคราะห์ภาพโดยใช้แนวทางทั้ง 5




เอกสารอ้างอิง
John Szarkowski; The Photographer's Eye 2007,The Museum of Modern Art, New York
Mary warner Marien , “Photography A Cultural History”, second Edition, Laurence King Publisher Ltd., London, UK, 2006
Naomi Rosenblum, “A World History of Photography”, Revised Edition, Abbeville Press ,New York , USA,1984
Ian Jeffrey, “Photography A Concise History”, Thames &Hudson Ltd., London, UK,2003
ภูมิกมล ผดุงรัตน์ 2010 :ภาพถ่ายศิลปะสมัยใหม่ ในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา,
://poomkamol.blogspot.com (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2558)
3 กรอบ (The Frame)
กรอบของภาพเป็นข้อจำกัดทางกายภาพสิ่งแรกของการถ่ายภาพ ในทางกลับกัน กรอบกลับเป็นเครื่องมือสำคัญในการแยกส่วนของเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องเลื่อนไหลไปตามเวลาของโลก ไม่ว่าเหตุการณ์การณ์นั้นจะยิ่งใหญ่หรือสำคัญเพียงใด ในภาพถ่ายเหตุการณ์เหล่านั้นมีขอบเขตแต่เพียงในกรอบของภาพ หรือในช่องมองภาพที่ช่างภาพได้เลือกแล้วว่าจะทำการเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือเรื่องของสิ่งนั้นเพียงใด การถ่ายภาพคือการเลือก สิ่งที่ปรากฏรายล้อมตัวผู้ถ่ายภาพ ช่างภาพจะเป็นผู้กำหนด เลือกว่าจะบันทึกภาพสิ่งใด นั่นก็คือการเลือกที่จะนำสิ่งใดเข้ามาในกรอบภาพ
4 เวลา (Time)
การถ่ายภาพคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเวลา ตั่งแต่กลไกการบันทึกภาพ เวลาของการเปิดรับแสง ช่วงเวลาที่ถูกหยุดไว้ ดังนั้นเวลาจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์ที่พิเศษกับภาพถ่ายเสมอ และแน่นอนว่าเวลาในภาพถ่ายคือปัจจุบันเสมอ ช่างภาพค้นพบเศษเสี้ยวของเวลาที่เห็นจากภาพ อันดวงตาปกติของมนุษย์ไม่มีวันเห็นได้ ดังเช่น มัวร์บริจน์ เห็นขาของม้าลอยในอากาศพร้อมๆกัน เมื่อภาพถ่ายได้หยุดเสี้ยวเวลานั้นไว้ ในทางตรงกันข้ามเขากลับสามารถเพ่งพินิจการลอยของขาทั้ง4 ได้ตราบนานเท่านานในภาพถ่าย เวลาในภาพเป็นปัจจุบันเสมอ ขาของม้าในภาพจะลอย ไม่มีวันไปต่อจากนั้น และสิ่งที่เกิดก่อนหน้านั้นก็จะเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะรับรู้ได้ เวลาในภาพถ่ายจึงมีเพียงปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีอดีต และไม่มีอนาคต
ช่างภาพจำเป็นต้องมองหาความงามในเศษเสี้ยวของเวลาให้ได้ ดังที่ คาเทียร์ เบรนซอง ได้กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ต้องตัดสินใจ ในการถ่ายภาพ ช่างภาพต้องหยุดการเลื่อนไหลของเวลา ที่มีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่เลื่อนไหลไปกับเวลาเข่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความรูปทรง จังหวะที่สมดุลเหมาะสม เพื่อทำให้ภาพที่ปรากฏนั้นเป็นภาพถ่ายที่สมบรูณ์
5 มุมมอง (Vantage Point)
มุมมอง คือสิ่งที่ถ่ายทอด ความคิด ของช่างภาพ การสร้างมุมมองก็คือการสร้างความคิด เมื่อช่างภาพเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือสิ่งของที่เขาหรือเธอต้องการจะบอกเล่าผ่านภาพถ่าย เขาจะต้องมีมุมมองที่สื่อสารความคิดของเขาได้ หากเขาสามารถเลื่อนปรับย้ายสิ่งที่เขาจะถ่ายภาพได้เพื่อมุมมองของเขาก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ หากเขาไม่สามารถย้ายสิ่งเหล่านนั้นได้ เขาก็ต้องย้ายตัวเอง
เมื่อพวกเขา(ช่างภาพ)เห็น ภาพรวมของเรื่องราวเหตุการณ์แล้ว เขาจำเป็นต้องสร้างมุมมองมากมายไม่ว่าจะเป็นมุมสูงมุมต่ำ มุมที่เข้าใกล้ หรือ ถอยห่าง เพื่อที่จะเป็นการจัดสรรสิ่งๆต่างในกรอบภาพให้สื่อสารสิ่งที่เขาคิดผ่านภาพถ่าย นอกจากนี้ ช่างภาพไม่เพียงแต่แสดงเหตุการณ์ออกมาผ่านภาพถ่าย เขาจำเป็นจะต้องใช้มุมมองในการสร้างความหมายที่เขาต้องการให้กับภาพถ่ายของเขาด้วย
รูปแบบการวิเคราะห์ภาพโดยใช้แนวทางทั้ง 5




เอกสารอ้างอิง
John Szarkowski; The Photographer's Eye 2007,The Museum of Modern Art, New York
Mary warner Marien , “Photography A Cultural History”, second Edition, Laurence King Publisher Ltd., London, UK, 2006
Naomi Rosenblum, “A World History of Photography”, Revised Edition, Abbeville Press ,New York , USA,1984
Ian Jeffrey, “Photography A Concise History”, Thames &Hudson Ltd., London, UK,2003
ภูมิกมล ผดุงรัตน์ 2010 :ภาพถ่ายศิลปะสมัยใหม่ ในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา,
://poomkamol.blogspot.com (สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2558)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น