• เราสามารถรู้จักความงามได้ แต่ความงามนั้นเป็นความงามที่เราต้องประจักษ์เองไม่สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจเหมือนเช่นเราเข้าใจได้ (สว่างโพลงในความรู้) (Intuition = อัปฌัตติกฌาณ)
• เราสามารถรู้จักความงามได้ด้วยการมีความรู้สึกทางจิตใจ โดยอาศัยสื่อกลางนำมา ทำให้รับรู้และรู้สึก
• อาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ กล่าวถึงสุนทรียภาพไว้ว่า “…สุนทรียภาพ (Aesthetic) คือ ภาวะที่เป็นศิลปะ หรือมีความงาม ความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่งาม ความเป็นระเบียบของเสียงและถ้อยคำที่ไพเราะ…” (เน้นอัตวิสัย)
• พจนานุกรม ฉบับศิลปะ ของราชบัณฑิตยสถานกล่าวถึงสุนทรียภาพว่า “….สุนทรีย์ (Aesthetic) คือ เกี่ยวกับความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงาม ไพเราะหรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นของธรรมชาติ หรืองานศิลปะ ความรู้สึกนี้เจริญได้ด้วยประสบการณ์ หรือการศึกษาอบรม ฝึกฝนจนเป็นอุปนิสัย เกิดเป็นรสนิยมซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล…” (เน้นวัตถุวิสัย)
• สุนทรียภาพนั้นจำจะต้องใช้ทั้งอัตวิสัยผนวกกับวัตถุวิสัย ส่วนอะไรจะมีสัดส่วนมากหรือน้อยกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ
(เห็นด้วยหรือไม่)
Subjectivism (อัตวิสัยนิยม)
กลุ่ม Subjectivism (อัตวิสัยนิยม) กล่าวว่าที่ตั้งของความงามอยู่ในจิตใจของผู้เสพ (Delight) ซึ่ง Devid Hume นักปรัชญาชาวอังกฤษให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามในแง่นี้ไว้ว่า
“Beauty is no quality in things themselves, it exists mearly in the mind. Which contemplates them, and each mind perceives a different beauty”
“ความงามไม่มีตัวตน อยู่แต่จิตของผู้เสพงานศิลปะนั้นเอง และแต่ละจิตใจก็รับรู้ในเรื่องความงามแตกต่างกัน”
Objectivism (วัตถุวิสัย)
กลุ่ม Objectivism (วัตถุวิสัย) มองเห็นว่าความงามนั้นมีอยู่จริง สามารถจับต้องได้ แต่การมีความงามนั้นจะเป็นความงามเชิงเดี่ยว (Simple) ซึ่งต้องอาศัยการเข้าถึงด้วย “อัชณตติกญาณ” (Intuition หรือความรู้จริงชัดแจ้งโดยฉับพลัน) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นตัวเราได้ (อนิรวจนีย) ต้องประจักษ์ความงามนั้นด้วยตนเอง
Relativism
(สัมพันธ์นิยม)
เป็นกลุ่มที่พยายามเสนอแนวคิดในเชิงประนีประนอมระหว่างกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง โดยให้ความเห็นว่า ความงามคือความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวของบุคคลที่มองศิลปะและตัวงานศิลปะนั้น
ทฤษฎีความงาม
•ทฤษฎีความงาม เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้
•
•ความงามในธรรมชาติและความงามในศิลปะ
•ความงามในธรรมชาติ เป็นความงามที่ปราศจากการปรุงแต่ง เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เข่นชมทิวทัศน์ทุ่งทานตะวัน หรือชมพระอาทิตย์อัศดงที่ภูผาเป็นต้น
•ความงามในศิลปะ เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจ ที่อยากแสดงออกทางสุนทรียภาพจากประสบการณ์ต่างๆ และขึ้นอยู่กับการสัมผัสของแต่ละบุคคล
ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
•ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความงามในตัวของวัตถุเอง เช่น สวยเพราะสีสัน ทรวดทรง พื้นผิว ไม่ว่าเราจะสนใจวัตถุนั้นหรือไม่ การที่เราเริ่มให้ความสนใจในวัตถุนั้น ก็เป็นเพราะความงามของวัตถุนั้นนั่นเอง บุคคลที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ท่านหนึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle. 384-322 B.C) ท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามที่เป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า สุนทรีธาตุนั้นมีจริง โดยไม่ขึ้นกับความคิดของมนุษย์ สุนทรีธาตุ มีมาตรการตายตัวแน่นอนในตัวเอง ดังนั้น ความงามของวัตถุจึงเป็นความสมบูรณ์อันเกิดจากรูปร่าง รูปทรง สีสัน สัดส่วนที่ประกอบกันเข้าอย่างกลมกลืนมีความสมดุล จึงถือว่าความงามที่เป็นวัตถุวิสัยหรือสุนทรียธาตุนั้นเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ
ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน
แนวคิดตามทฤษฎีนี้กล่าวคือ การที่เรามองเห็นคุณค่าของความงามในสิ่งใดใดก็แล้ว จิตเป็นตัวกำหนดความงาม ซึ่งเพลโต นักปรัชญาชาวกรีก (Plato 472 -347 B.C) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของความงามว่า ความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ (World of Idea) เขาเชื่อว่าความงามอยู่ที่จิตเป็นตัวกำหนด ส่วนความคิดนั้นอยู่ในห้วงแห่งจินตนาการที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกนี้ กล่าวคือจิตต้องสร้างต้นแบบแห่งความงามขึ้น สิ่งใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับจินตนาการในต้นแบบมากเพียงใด ย่อมถือว่าเป็นความงามเพียงนั้น ความชอบความเพลิดเพลินในเป็นสิ่งแสดงถึงคุณค่าตามมา
ความงามเป็นสภาวสัมพัทธ์
นักคิดบางคนเชื่อว่าความงามไม่ใช่เป็นจิตวิสัยอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่ใช่เป็นวัตถุวิสัยอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน แต่เป็นภาวสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล ทัศนะนี้ก็นับว่ามีส่วนถูกต้องอยู่ที่การยอมรับว่าทั้งบุคคลและ วัตถุมีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ในการตีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นรากฐานรองรับคำว่าคุณค่าทางสุนทรียะ เพียงแต่ว่าตัวความสัมพันธ์เองนั้นไม่ใช่เป็นตัวความงามหรือตัวคุณค่าทางสุนทรียะ เพราะฉะนั้นการที่จะอธิบายว่าความงามคือสภาวสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกนัก
กรณีศึกษา
การสร้างและศึกษารูปทรง ของ คาร์ล บลอสเฟลดท์ (Kral Blossfeldt) และ ความเหนือจริงของปารีสใน ภาพของยูจีน อาเช่
(Eugene Atget)
ในช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 การใช้ภาพถ่ายเพื่อเป็นเครื่องมือในการ บันทึกรูปแบบหรือเป็นหลักฐาน หรือเป็นการเก็บข้อมูล มีการใช้อย่างแพร่หลาย คาร์ล บลอสเฟลดท์
(Kral Blossfeldt ค.ศ.1856-1932) ประติมากรชาวเยอรมันใช้การบันทึก
ภาพเพื่อศึกษารูปทรง ของพืช โดยนำส่วนต่างๆของพืช มาถ่ายภาพในระยะใกล้ และอัดขยายออกเพื่อศึกษารูปร่างรูปทรง ของพืช แต่เมื่อเขาบันทึกภาพเป็นจำนวนมากเข้าก็ค้นพบ ว่าภาพถ่ายส่วนต่างๆ ของพืชเป็นสิ่งที่น่าสนใจโดยตัวมันเอง เขาจึงทำการรวบรวมภาพและตีพิมพ์หนังสือ Urformen der
Kunst"(The original art) (ภาพที่ 124) นำเสนอภาพถ่ายของพืชที่เขาได้บันทึกไว้
คาร์ล บลอสเฟลดท์
ได้สร้างแนวทาง ของการถ่ายภาพที่มีจุดประสงค์ ที่ชัดเจน ไม่มีการสร้างอารมณ์ หรือการสร้างความหมายโดยใช้ เทคนิคการถ่ายภาพ ที่เรียกว่า
Objective Photography ซึ่งจะกลายเป็นแนวทางสำคัญของภาพถ่ายเยอรมันในเวลาต่อมา





ในขณะที่ ยูจีน
อาเช่
(Eugene Atget (ค.ศ.1857-1927)) ช่างภาพชาวฝรั่งเศส
บันทึกภาพของปารีสอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็น อาคาร ถนน ตรอก ซอย หน้าต่างร้านค้า ด้วยกล้องขนาดใหญ่ ภาพของเขามักจะถูกซื้อโดยศิลปินเพื่อนำไปเป็นแบบในการวาดภาพ ลักษณะของภาพจะเป็นภาพเมืองที่ว่างเปล่าไร้ผู้คน
(ภาพที่
126) เนื่องจาก เขาใช้เพลทกระจกขนาดใหญ่รุ่นเก่าที่ใช้เวลาในการบันทึกภาพนาน ภาพจึงมีบรรยากาศของเมืองที่ดูแปลกต่าง ภาพปารีสในมุมต่างๆ ของอาเช่
ไม่ได้เพียงแค่บอกว่านี่คือเมืองอะไร หากแต่จะสื่อสารกับผู้ชมถึงความรู้สึกของเขาที่มีต่อเมืองที่เขาอยู่มาทั้งชีวิต ในลักษณะที่เรียกกันต่อมาว่า
“Subjective Photography” แมนเรย์ ศิลปินดาดาและเซอร์เรียลริส
กล่าวถึงงานของอาเช่ว่ามีความเหนือจริงในบรรยากาศของสถานที่ต่างๆ ที่เขาถ่ายภาพ ภาพของอาเช่กลายเป็น ฐานสำคัญให้กับช่างภาพที่สร้างสรรค์งานในรูปแบบของเซอร์เรียลลิส ที่มักจะนำภาพถ่ายมาสร้างงานศิลปะตามที่ตัวเองรู้สึกต่อสิ่งต่างๆผ่านรูปแบบที่เป็นจริงของภาพถ่าย



 |
ภาพทั้งหมดจาก http://masters-of-photography.com |