•เพลโต (Plato: 427-347 กคศ.) ศิษย์เอกของบรมครูโสกราตีส
มีผลงานการเขียนในรูปแบบของบท สนทนา (Dialogue)
และบทร้อยแก้วทางปรัชญาของเพลโตมีหลายเล่มที่ได้ตกทอดเป็นมรดกทางปัญญาของโลกที่สมบูรณ์แบบ
ผลงานเด่นได้แก่ หนังสือชื่อ “รีพับลิค-The Republic” ที่ให้แนวคิดว่าด้วย
“ธรรมชาติของความยุติธรรม
-The nature of Justice”และนำเสนอแนวคิดว่าด้วย “
รัฐในอุดมคติ-The Ideal State”
“ซิมโพเซียม-The Symposium” เป็นบทสนทนาเกี่ยวกับธรรมชาติของความงามและ “ธรรมชาติของความรัก-the nature of love”
โลกแห่งความคิด (the world of thought) หรือโลกของจิตสังกัป (the world of ideas) โลกแห่งวิทยาศาสตร์ (the world of science)
ปรัชญาการศึกษาของเพลโต เน้นไปที่การพัฒนาภูมิปัญญาระดับสูงของผู้ปกครอง นักการเมือง ว่าเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปกครองที่ดีต้องเป็นผู้มีความรู้ ทรงภูมิปัญญา ในแนวการศึกษาที่เขาเรียกว่า “วิทยาศาสตร์-scientific study” รวมทั้งการศึกษาคณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์ต่างๆ
• ทฤษฎีความรู้ของเพลโต (Plato’s Theory of Knowledge) เป็นปรัชญาญาณวิทยา ที่เพลโตพรรณนา ว่า มนุษย์ได้รับความรู้อย่างไร ความรู้มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง โดยแสดงอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบให้เห็นจริง 3 ตัวอย่าง ได้แก่
•(1) อุปมาอุปมัยเรื่องถ้ำ-Allegory of the Cave
•(2) เรื่องเส้นแบ่งพรมแดน(ความรู้)-The Divided Line
(3) หลักการว่าด้วยแบบ (The Forms) หลักการว่าด้วย “แบบ” ของเพลโต-The Platonic Doctrine of Forms or Ideas นี้เป็นผลงานทางปรัชญาที่สำคัญสิ่งที่เพลโต เรียกว่า “แบบ” (the Forms) หรือ “จิตสังกัป” (the Ideas) มีคุณสมบัติเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ เป็นอสภาวะ สิ่งต่างๆรอบตัวที่เรามองเห็นล้วนเป็นสิ่งสำเนา (a copy) ของแบบ ความจริงแท้คือโลกของแบบ
อธิบาย “ธรรมชาติของการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง” (the nature of existence) “ความเป็นอยู่” (Being) “โลกแห่งความจริง” (the real world) ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่มีอยู่จริง และรับรู้ได้ด้วยภูมิปัญญาสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะตัดสินสิ่งต่างๆและพฤติกรรมต่างๆ ว่า สิ่งนั้น สวยงาม หรือ ดีงาม ย่อมเป็นการเริ่มต้นหาคำตอบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิ่งนั้น เช่น เกณฑ์การตัดสินความงาม เกณฑ์การตัดสินความดี ที่เราจะต้องแยกแยะ แบบของความงาม แบบของความดี ออกจาก สิ่งที่เรามองเห็นว่า สวยงาม หรือ คนที่เรามองเห็นว่า เป็นคนดี ก่อน เพราะสิ่งที่เรามองเห็นมีความผันแปรได้อยู่ตลอดเวลา แต่แบบของความงาม แบบของความดี เป็นสิ่งที่ไร้กาลเวลา (timeless) ดังนั้น เขาจึงสรุปว่า แบบ เป็นโลกที่แท้จริงที่รับรู้ได้ด้วยปัญญา เป็นโลกที่จริงที่สุด และประกอบด้วยแบบที่เป็นนิรันดร์ (the eternal Forms)
วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม,(2547), “ปรัชญาขั้นแนะนำ: กระแสคิดที่ทรงอิทธิพลต่อโลก,หนังสือชุดนักคิดสะท้านโลกันต์.1”,กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ชีวาภิวัฒน์.ISBN 974-92157-3-7, บทที่ 3 ปรัชญากรีก,หน้า 100 ถึง 140.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น