บทความจาก วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม,(2547), “ปรัชญาขั้นแนะนำ: กระแสคิดที่ทรงอิทธิพลต่อโลก,หนังสือชุดนักคิดสะท้านโลกันต์.1”,กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ชีวาภิวัฒน์.ISBN 974-92157-3-7, บทที่ 3 ปรัชญากรีก,หน้า 100 ถึง 140.
ปรัชญากรีกเริ่มขึ้นเมื่อชาวกรีกมีความพยายามจะแสวงหาความรู้ความเข้าเกี่ยวกับโลกโดยไม่ต้องผ่านการอธิบายเชิงศรัทธาและอำนาจทางศาสนา แต่ด้วยวิธีการที่ผ่านกระบวนการใช้เหตุผล
การค้า ศิลปวิทยาการต่าง ๆ และความเชื่อทางศาสนาแห่งเทพกรนัม พิธีบวงสรวงที่อลังการบนยอดเขาโอลิมปุส การสร้างมหากาพย์ (Epic) เพื่อใช้ในพิธีกรรม ล้วนแต่สะท้อนความนึกคิดเชิงจักรวาลวิทยาอธิบายโลกธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์ต่อความเป็นไปของโลกและมนุษย์ กฎธรรมชาติกับกฎธรรมชาติของมนุษย์
พัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้และพัฒนาการทางสติปัญญาที่แยกส่วนออกจากความเชื่อและอำนาจครอบงำความรู้ทางศาสนาได้อย่างอิสระ ด้วยกระบวนการคิดและการใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาการ จนได้เชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ยุคแรก
คำถามว่าโลกถูกสร้างมาจากอะไรและโลกครอบครองอะไรอยู่ อะไรคือแก่นแท้ของโลก สิ่งที่แท้จริงคืออะไร และเราจะสามารถอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งได้อย่างไร เป็นต้น
ธาเลส (Thales: 624-546 กคศ.) นักปรัชญากรีกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาชาวตะวันตกคนแรกและเป็นผู้ก่อตั้งวิชาเรขาคณิตและดาราศาสตร์คำนวณ เป็นนักคิดที่ยืนยันว่า สสารประกอบด้วยน้ำ แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของเขาเริ่มต้นจากคำถามที่ว่า สิ่งทั้งหลายสร้างขึ้นด้วยอะไร และได้เฝ้าสังเกตการณ์ว่า อะไรคือสิ่งที่คงตัวในสสารมากที่สุด ในที่สุดเขาจึงยืนยันว่า น้ำคือแก่นแท้ของสรรพสิ่ง
2 อแนกซิมันเดอร์ (Anaximander: กคศ.610 -546 ) ยุคสมัยเดียวกับธาเลส ศิษย์ของธาเลส มีความคิดเห็นพ้องกับอาจารย์ของเขา โดยได้วิเคราะห์ว่า สิ่งที่เป็นสารัตถะย่อมต้องเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่ไร้ขีดจำกัด เมื่อสังเกตดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว พบว่า มีความชุ่มชื้นของน้ำปรากฏอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง น้ำจึงมีคุณสมบัติไร้ขีดจำกัด และเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง
อแนกซิเมนีส (Anaximenes:กคศ. 585-528.) เป็นนักคิดร่วมสมัยกับอแนกซิมันเดอร์ เขาได้นำแนวคิดของธาเลส ที่ศึกษาว่า อะไรคือแก่นแท้ของสรรพสิ่ง กับแนวคิดของอแนกซิมันเดอร์ ที่ว่าสิ่งที่เป็นแก่นแท้จะต้องมีคุณสมบัติไร้ขีดจำกัด แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่ว่า สิ่งที่มีคุณสมบัติไร้ขีดจำกัด ไม่น่าจะใช่ น้ำ แต่น่าจะเป็น อากาศธาตุ มากกว่า โดยสังเกตการณ์ดูลักษณะความเคลื่อนไหวของอากาศ (air) เขาได้เสนอแนวคิดสำคัญที่ว่า ความแตกต่างใน “คุณสมบัติ” (quality) เป็นผลมาจากความแตกต่างในด้าน “ปริมาณ” (quantity) ดังเช่นอากาศที่กลั่นตัวในรูปแบบต่าง ๆ เป็นกระแสลม และกระบวนการต่อ ๆ ไปทำให้เกิดน้ำขึ้น จากนั้นจึงเกิดดิน และการจับตัวที่แกร่งที่สุดพบในหินต่าง ๆ
ไพธากอรัส (Pythagoras:กคศ.525-500) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งยุค เขาได้พิสูจน์ความเป็นไปของจักรวาลด้วยทฤษฎีไพธากอรัส (Pythagorean Theorem) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น หลักคณิตศาสตร์แท้ทฤษฎีแรก ไพธากอรัส ยืนยันว่า เลข (numbers) คือ ความจริงแท้ (realities) สิ่งทั้งหลายทั่วจักรวาล คือ แบบจำลองของตัวเลข เลข คือแก่นแท้ของสรรพสิ่ง เขาได้นำกระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์มาไตร่ตรองอย่างพินิจพิเคราะห์แล้วอธิบายออกมาอย่างเป็นระบบ เกิดเป็น “แนวคิดเชิงทฤษฎี
•เฮราคลิตุส (Heraclitus:กคศ. 504-501.) นักคิดจากตระกูลสูงแห่งเอเฟซุส (Ephesus) ผู้มีจินตนาการทางความคิด และได้รับการยกย่องในสถานะสำคัญเทียบชั้นกับปรัชญาเมธีเพลโต และนักปรัชญาสโตอิค (Stoic) เขาเป็นนักคิดที่ได้รับความชื่นชมอย่างสูงจากนักคิดชั้นนำของโลกอย่างเช่น เฮเกล (Hegel) และนิทซ์ช (Nietzsche) ซึ่งเป็นนักคิดปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
ความเปลี่ยนแปลงเป็นสภาวธรรมชาติของจักรวาล เขามีความเชื่อว่า จักรวาลมีสภาวะเป็นกระแสของความเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย (a constant state of flux or change) แนวคิดทางปรัชญาของเขาสนใจในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในสรรพสิ่ง แนวคิดหลักคือ “ทุกสิ่งล้วนเป็นกระแส-All things are in flux.) โดยอธิบายเปรียบเทียบว่า “ไม่มีใครสามารถก้าวลงไปสัมผัสสายน้ำเดียวกัน 2 ครั้งในแม่น้ำเดียวกันนั้นได้-You cannot step twice into the same river.” (อ้างโดย Stumpf, 1989,13)
ปรัชญาของโสกราตีส
•โสกราตีส (Socrates: 470-39 กคศ.) เป็นนักคิดชาวเอเธนส์ สิ้นเชิง เขาได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้ความจริง และการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาเชิงจริยธรรม เขายืนยันหลักการที่ว่า ความรู้และการกระทำต้องสอดคล้องกัน คือ เมื่อเข้าถึงความรู้ความจริงแล้วอย่างสมบูรณ์ ก็คือการเข้าถึงความดีอย่างแท้จริง ความรู้กับคุณธรรมจึงเป็นของคู่กัน เมื่อรู้จริงก็ต้องทำดี ดังอมตะวาทะของโสกราติสที่ว่า “Knowledge is virtue-ความรู้คือ คุณธรรม”
เสนอประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ และการรู้จักตนเองซึ่งเพลโตเป็นผู้ที่บันทึกผลงานความคิดทางปรัชญาของโสกราตีสให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา
แนวความคิดทางจริยธรรมของโสกราตีส มีหลักการพัฒนาจิต ความรู้ และคุณธรรม เป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าคุณธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตวิญญาณ(soul) ให้ดีที่สุดแล้ว ความรู้ที่จำเป็นอันดับแรกคือ อะไรที่จะทำให้จิตวิญญาณดีได้ ดังนั้นความดีกับความรู้ จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก โสกราตีสจึงบ่งชี้ว่า ความรู้ คือ คุณธรรม เช่นเดียวกับที่จะกล่าวว่า ความชั่ว (vice) บาป (evil) เป็นการปราศจากความรู้ ความชั่ว จึงเป็น ความโง่เขลาเบาปัญญา นั่นเอง การกระทำชั่วเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เพราะจิตวิญาณเต็มไปด้วยความโง่เขลา ไม่รู้จริงคนเราถ้ามีความรู้จริง จะไม่กระทำบาป การกระทำชั่ว ผิดบาป จึงเป็นความพลั้งเผลอ ที่เป็นผลมาจากความเขลา (ignorance) มนุษย์แต่ละคน จึงต้องขจัดความโง่เขลาออกไป และเสริมสร้างจิตวิญญาณให้มีปัญญาแกร่งกล้าด้วยความรู้แท้