สรุปลักษณะสำคัญของ
Renaissance Aesthetics
ยุค Renaissance การนำเสนอภาพแทน (representation) ถูกนำมาใช้
อีกครั้งในยุคนี้ ทั้งนี้ Renaissace หมายถึง back to Rome, rebirth of
knowledge แนวคิดของยุคนี้คือ การกลับไปหาต้นแบบงานในยุคกลาง (Middle Age) เช่นงาน
Pythagoras ที่เคยเป็นงานต้องห้ามในยุคกลาง
ยุค Renaissance
มองว่าการคาดคำนวณด้วยตัวเลขเป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดความเป็น จริง (reality)
ผ่านการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ แนวคิดการวางจังหวะ สัดส่วนที่เหมาะสม
สอดรับซึ่งกันและกัน ระหว่างแนวคิดและการออกแบบ เช่นงาน ของ Mondrain,
การพัฒนาบันไดเสียงในทางดนตรี (สะท้อนการหยุดเสียงด้วยการ
ประดิษฐ์ตัวโน้ตที่ไม่เคยจับต้องได้ในอดีต) เป็นต้น
ยุค Renaissance เกิด New Humanism
ยุค Renaissance เกิด Representation Realism
ตัวอย่างศิลปินในยุค Renaissance ์ได้แก่
แนวคิดของ leon Battista Alberti
แนวคิดของอัลเบอร์ตี้ยังคงได้รับแนวคิดที่ว่าศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ
อันปรากฏเป็นแนวคิดหลักในอดีตอยู่ หากแต่เขามองว่าการสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นแค่เพียง
การสร้างสรรค์ของผู้สร้างเท่านั้น แต่สะท้อนถึงความต้องการความรู้ งานศิลปะจึงเป็น
สมบัติของมนุษยชาติ และศิลปินก็เป็นพวกมนุษยนิยม (Humanism) ผู้เปี่ยมด้วยปัญญา
และความรู้
สืบเนื่องจากศิลปะใน Renaissance
เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์จึงเปี่ยม ด้วยปัญญาความรู้เชิงวิชาการ
ซึ่งมาจากการใช้หลักการองค์ประกอบศิลป์ (perspective) และหลักการคำนวณนี้เอง
ความงามจึงหมายถึงความกลมกลืนของทุกสิ่งที่อยู่รวมกัน เป็น “harmony of the parts”
แนวคิดของ Leonardo da Vinci (1452-1519)
ดาวินชี่เชื่อว่าศิลปะคือวิทยาศาสตร์
เป็นเครื่องมือของหลักการในการเปิดเผยความจริง และสุนทรียศาสตร์คือหลักปรัชญา
ความรู้ ที่จะทำให้เราเข้าใจอะไรบางอย่าง ดังนั้น
ในการเปิดเผยความจริงในทางศิลปะให้ปรากฏ ศิลปินจะต้องมีความรู้ผ่าน
การขวนขวายและศึกษาความคิด ปรัชญาเพิ่มเติมเสมอ
แนวคิดของ Michelangelo (1475-1564)
ผลงานของมิคาลันเจโลสะท้อนแนวคิดของยุคกรีก
และแนวคิดเกี่ยวกับคริสตศาสนา โดยเขาเชื่อว่า
ศิลปะต้องการความรู้พิเศษ
ศิลปะต้องใช้หลักเพอร์สเปกทีฟและความรู้เชิงกายภาพ (anatomy)
ศิลปะสะท้อนลักษณะหนึ่งของธรรมชาติสูงส่ง (divine in nature)
ทั้งนี้ความงาม (Beauty) จะประกอบไปด้วย
ความเป็นระเบียบ (order)
ความกลมกลืน (harmony)
ความมีสัดส่วนสมบูรณ์ (proportion)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น