เพลโต (Plato)
ผลงานที่สำคัญของเพลโตคือ หนังสือชื่อเรื่องว่า Republic ที่รวบรวมแนวคิดของ เพลโตที่อธิบายถึงรัฐในอุดมคติว่าเป็นอย่างไร ใช้หลักการบริหารงานอย่างไร รวมไปถึงรสนิยม วิถีชีวิต การเข้าใจความคิดของผู้คนในสังคม ในหนังสือเล่มนี้มีการกล่าวถึงเรื่องของการ จัดการศิลปะและวัฒนธรรม โดยกล่าวว่าในสังคมที่มนุษย์อยู่รวมกัน มนุษย์/ประชาชนจะต้อง ควบคุมความต้องการ (desire) ของตนเอง และรัฐก็จะต้องทำหน้าที่ควบคุมการบริโภคศิลปะ และวัฒนธรรมของมนุษย์และสังคมด้วย
สืบเนื่องมาจากเพลโตเชื่อว่า ศิลปะมีอำนาจในการกำหนดรูปร่างคุณลักษณะของ ความคิด ความรู้สึก และเป็นอาวุธที่ทรงพลานุภาพต่อมนุษย์ ดังนั้น เพื่อสร้างให้เกิดความสงบ เรียบร้อยในสังคม สร้างสังคมอุดมคติ (ideal society) ให้เกิดขึ้น ศิลปะจะต้องถูกควบคุม อย่างเข้มงวด สาเหตุดังกล่าวนี้เองทำให้ศิลปะในยุคแรกเริ่มนี้ ศิลปินมักจะนำเสนอผลงาน โดยไม่ลงชื่อ (anonymous) หรือไม่ใช้ชื่อจริงของตนเอง เพราะเกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ตามมา
ที่สำคัญ เพลโตมองว่าศิลปะเป็นเรื่องอันตราย ศิลปะสามารถกระตุ้นแรงปรารถนา ทางเพศของ มนุษย์ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้นแรงปรารถนาในด้านอื่นๆ ทั้งต่อสังคม ต่อรัฐ ตามมา
ทัศนะต่อธรรมชาติของเพลโต
เพลโตมองการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงในทางกายภาพของโลกเป็น เสมือนการขาดวิ่น (poor) การทำลายการทำซ้ำของความสมบูรณ์แบบ (decaying copy of a perfect) ความเป็น rational ความเป็นอมตะ (eternal) และการเปลี่ยนแปลงของ ต้นแบบในระดับที่น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง ความงามของดอกไม้ พระอาทิตย์ขึ้นที่ริมขอบฟ้า ดนตรี ความรัก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการเลียนแบบที่ไม่สมบูรณ์แบบของความงามของตัวมันเอง (imperfect copy of Beauty itself)
การเลียนแบบธรรมชาติจึงเป็นได้แค่การทำซ้ำอย่างไม่สมบูรณ์แบบ ในขณะที่โลกแห่ง ผัสสะ ประสบการณ์ หมายถึงของปลอม มาจากการรับรู้ด้วยอายาตนะทั้ง 5 ดังนั้น โลกแห่ง ความจริง ความสมบูรณ์แบบ (perfect) เป็นความจริงแท้ ด้วยเหตุผล การทำงานศิลปะจึง หมายถึงการทำสำเนา การเลียนแบบ
อย่างไรก็ตามหากกล่าวอีกนัยหนึ่ง แนวคิดของเพลโตแนวคิดนี้เป็นการเตือนพวกเรา ไม่ให้เชื่อใน “หลักฐานเชิงประจักษ์” มากจนเกินไปเช่นกัน เพราะสิ่งที่มองเห็น สัมผัส รับรู้ อาจแตกต่างไปจากความเป็นจริงได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัส แต่ให้ใช้ “สหัสญาน” (intuition) รับรู้เป็นหลัก
Aristotle
เพลโตและอริสโตเติลมีความเชื่อที่เหมือนกันว่า ความจริงแท้นั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากแต่ที่มาของบทสรุปทางความเชื่อของทั้งสองคนนั้นแตกต่างกัน
ในขณะที่เพลโตเชื่อว่า Form คือ true reality และการปรากฏของฟอร์ม (form) ที่ตามนุษย์ มองเห็นคือการทำสำเนา
แต่อริสโตเติลกลับเชื่อว่า จริงๆ แล้ว form ไม่เคยถูกแยกขาดออกจากตัวตนของวัตถุ เนื่องจาก รูปร่าง ลักษณะ (matter) มาพร้อมกับรูปทรง (form) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนา กำหนดสัดส่วนของรูปลักษณะนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ แนวคิดของอริสโตเติลจึงเป็นมิตรต่อการใช้ อารมณ์ความรู้สึก (passion) มากกว่าแนวคิดของเพลโต
อริสโตเติลศึกษาพบว่าในโลกของความหลากหลายแตกต่าง ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา มนุษย์จึงต้องเรียนรู้เก็บเกี่ยวเรื่องราวความหลากหลายให้มากที่สุดจนเพียงพอที่จะ สร้างข้อสรุปของตนเองได้ว่า “ธรรมชาติคืออะไร” ด้วยเพราะสำหรับอริสโตเติลแล้ว เขาเชื่อว่า ศิลปะ เกี่ยวข้องกับการเลียนแบบ (Art involved imitation.) ในลักษณะของ “mimesis” ซึ่งเป็น เรื่องราวของการตีความธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานทางความคิดที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม อริสโตเติล ไม่ได้รังเกียจการเลียนแบบ (copy) เขามองว่าเป็นการทดลอง การเรียนรู้เพื่อค้นหา แสวงหา สิ่งที่ดีที่สุด ตามหลักการของ dialectic process ที่จะนำไปสู่ความจริงแท้ของโลกที่เราไม่รู้จักได้ เป็นอย่างดี โดยใช้วิธีการก้าวข้ามปรากฏการณ์สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ภายหน้า
เช่นที่อริสโตเติลกล่าวว่า Tragedy is an imitation, not of person but of action and life, of happiness and misery.
The Unities/The Poetics
หนังสือการละครของอริสโตเติลเล่มนี้เขียนเน้นไปที่เรื่องโศกนาฏกรรม (tragedy) อริสโตเติลเขียนประวัติศาสตร์การพัฒนาทางความคิดด้านกวีศาสตร์ ศิลปะการแสดง และกรอบการวิจารณ์ในการประเมินค่าละครโศกนาฏกรรมไว้ในหนังสือเล่มนี้ พร้อมกันนี้มองว่า mimesis=representation ดังนั้น คุณค่าของบทกวีกับคุณค่าของชีวิตและความมีจริยธรรม เราอาจ พิจารณาได้ว่า mimesis เป็นการตีความ (interpretation) ได้ในอีกทางหนึ่ง สืบเนื่องจาก ในระหว่างกระบวนการทำงาน ผสานรูปแบบ (form) กับเนื้อหา (content) ให้ปรากฏออกมาเป็น ผลงานนั้น ทั้งสองสิ่งนี้ได้ถูกแทรกกลางด้วย “กระบวนการพัฒนาการทำงาน” (developing process) จนเกิดเป็นการทดลอง (experiment)
St.Thomas Aquinas
ในยุคกลางปรากฏแนวคิดของนักปรัชญามากมายที่เกี่ยวกับศิลปะ Aquinas ก็เช่นกัน แนวคิดของ Aquinas นำมาซึ่งการต่อยอดทางความคิดของยุคกลางในเรื่องศาสนาในเวลาต่อมา ในขณะที่มนุษย์ยังเชื่อและศรัทธาในพระเจ้า จนทำให้เกิดสื่อกลางในการถ่ายทอดคำสอนของ พระเจ้ามาสู่มนุษย์ เกิดแนวคิดแบบ Platonic เสนอเรื่องราวการมีอยู่จริงของพระเจ้า (existence of God) ในขณะที่วัตถุและโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป แต่แนวคิดนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามไป กับวัตถุและโลกด้วย การปรากฏอยู่จริงของพระเจ้านี้มีอยู่ในทุกลักษณะของความดีงาม ในความยุติธรรม ความสมบูรณ์ เป็นต้น
ในงาน Commentary of the Divine Names อริสโตเติลพูดถึงเรื่องความงาม (Beauty) ว่าจะต้องประกอบด้วยรูปทรงที่สมบูรณ์ (proper form) ในทางตรงกันข้าม ถ้าวัตถุใดไม่มีรูปทรง ที่สมบูรณ์แบบ สิ่งนั้นคือความน่าเกลียด (the Ugly)
องค์ประกอบของความงาม ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ
0.ความลงตัว (Intrigity) ความสมบูรณ์แบบ สะท้อนถึงความมีเอกภาพ (Unity)
0.สัดส่วนสมบูรณ์ (proper proportion) สะท้อนสัญลักษณ์ของความดี (Goodness)
0.ความกระจ่างชัด (clarity) สะท้อนความจริง (truth)
ตามความคิดของ Aquinas ศิลปะสูงส่งจะต้องมาจากวัสดุที่มีค่า และอุดมคติใน การสร้าง รูปทรงจะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความงาม เพราะมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความ มีเอกภาพ ความงดงาม ความจริง ได้ด้วยตนเอง จะต้องรับรู้ผ่านรูปทรง ศิลปะจึงสะท้อนความจริง สูงสุดในเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า
Francis Hutchson
Hutchson สนใจศึกษาสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ประสบการณ์ (concept of experience) เป็นสิ่งสำคัญ แตกต่างไปจากก่อนหน้าที่มักใช้แนวคิด หรือตัววัตถุเป็นหลักในการศึกษา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 18 จากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคม อุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ในการใช้ชีวิต ประสบการณ์ทางสังคม ประสบการณ์แบบปัจเจก แบบใหม่ๆ Hutchson จึงเน้นการใช้ “สุนทรียศาสตร์ความรู้สึก” (aesthetic sense) ที่มีการใช้การรับรู้ (perception) ของตา หู ลิ้น สัมผัส โดยใช้พื้นฐานแนวคิดมาจากความคิดของ John Locke ที่มองว่า “ความคิดทั้งหลายมาจาก การทำงานของประสบการณ์”
ความงามตามทัศนะของ Hutchson จึงมาจากความรู้สึกยินดี (pleasure) ความสนุกสนาน (joy) และความงามสามารถรับรู้ได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสของการมองเห็น (Beauty is in the eye.) ที่อยู่ตรงหน้าของผู้ชม ด้วยเหตุนี้ระดับการรับรู้ที่ลึกซึ้งจึงขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ส่วนบุคคล ของผู้ชมแต่ละคนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม Hutchson ไม่ได้ปฏิเสธเรื่อง “ความงามโดยสมบูรณ์” (absolute beauty) ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของความงามที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ และไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ Hutchson มองว่าความงามที่เกิดขึ้นในงานศิลปะ เป็น “relative beauty” กล่าวคือเป็น Uniformity amidst Variety ด้วยเหตุนี้แนวคิด Dichotomy จึงเกิดขึ้นมาเพื่ออธิบายเรื่องราวว่า ต่างสิ่งต่างสะท้อน ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ งานดั้งเดิม (original) สะท้อนงานลอกเลียนแบบ (copy) ความแตกต่าง (difference) ก็สะท้อนถึงความคล้ายคลึง (similarity) เป็นต้น
Medieval Aesthetics
แนวคิดหลักที่ปรากฏในยุคกลางคือ ผลงานที่ยิ่งใหญ่ต้องนำไปสู่การรู้แจ้งทางจิต และเกิดแสงสว่างภายในจิตใจ เช่น พระพุทธรูป สะท้อนถึงการรู้แจ้งภายในจิตใจ และแสงสว่างของความจริง ก็จะนำไปสู่แสงสว่างของชีวิต และนำไปสู่พระผู้เป็นเจ้า
แนวคิดในยุคกลางเป็นการรวมแนวคิดของเพลโตและแนวคิดแบบ Neo-Platonic ผสาน รวมกับการรับรู้ทางประสบการณ์ (the sensible forms and images) จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ ที่จะนำไปสู่ความจริงแท้ ด้วยเหตุนี้งานศิลปะที่ดีจึงต้องเป็นงานที่สร้างประสบการณ์การเข้าถึง พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นเจ้าของพรสวรรค์ ความสามารถของศิลปิน
ลักษณะการออกแบบผลงานศิลปะในยุคกลางนี้เป็นการผสานแนวคิดสุนทรียศาสตร์ ความงามแบบดั้งเดิม ที่มองว่าสัดส่วนต้องคำนวณได้ มีรูปแบบ และสะท้อนแนวคิดโลกสมบูรณ์ อยู่เบื้องหลัง ผ่านการสร้างสรรค์ของศิลปิน ผู้ได้รับพรสวรรค์มาจากพระผู้เป็นเจ้า โดย แนวความคิดเหล่านี้ เป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการรวมแนวคิดของเพลโตและอริสโตเติล เข้าด้วยกัน
แนวคิดของ Aquinas+นวัตกรรมของการสร้างงานแบบโกธิค นำมาสู่การใช้ มุมมองตามธรรมชาติ (Naturalistic view)
แนวคิดนี้ปรากฏชัดเจนในลักษณะการออกแบบโบสถ์ในยุคโกธิค มีการออกแบบโบสถ์ โดยมีหน้าต่างหลายบาน ซึ่งสะท้อนแนวคิดแสงสว่าง ความกระจ่างชัด (clarity) คือความงาม (ในที่นี้แสงสว่างนั้นหมายรวมถึงแสงสว่างตามธรรมชาติ และแสงวาววับของวัตถุ) อันสะท้อนถึง แสงสว่างทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งผู้สอนให้ทัศนะว่า แสงจากธรรมชาตินี้เอง (natural light) ได้ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นหลักการออกแบบองค์ประกอบศิลป์ทางศิลปะ (perspective) ในยุคต่อมาที่มองความสวยงามว่าจะต้องวัดและคำนวณได้
กล่าวโดยสรุปลักษณะสำคัญของ Renaissance Aesthetics
0.ยุค Renaissance การนำเสนอภาพแทน (representation) ถูกนำมาใช้ อีกครั้งในยุคนี้ ทั้งนี้ Renaissace หมายถึง back to Rome, rebirth of knowledge แนวคิดของยุคนี้คือ การกลับไปหาต้นแบบงานในยุคกลาง (Middle Age) เช่นงาน Pythagoras ที่เคยเป็นงานต้องห้ามในยุคกลาง
0.ยุค Renaissance มองว่าการคาดคำนวณด้วยตัวเลขเป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดความเป็น จริง (reality) ผ่านการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ แนวคิดการวางจังหวะ สัดส่วนที่เหมาะสม สอดรับซึ่งกันและกัน ระหว่างแนวคิดและการออกแบบ เช่นงาน ของ Mondrain, การพัฒนาบันไดเสียงในทางดนตรี (สะท้อนการหยุดเสียงด้วยการ ประดิษฐ์ตัวโน้ตที่ไม่เคยจับต้องได้ในอดีต) เป็นต้น
0.ยุค Renaissance เกิด New Humanism
0.ยุค Renaissance เกิด Representation Realism
ตัวอย่างศิลปินในยุค Renaissance ์ได้แก่
แนวคิดของ leon Battista Alberti
แนวคิดของอัลเบอร์ตี้ยังคงได้รับแนวคิดที่ว่าศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ อันปรากฏเป็นแนวคิดหลักในอดีตอยู่ หากแต่เขามองว่าการสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นแค่เพียง การสร้างสรรค์ของผู้สร้างเท่านั้น แต่สะท้อนถึงความต้องการความรู้ งานศิลปะจึงเป็น สมบัติของมนุษยชาติ และศิลปินก็เป็นพวกมนุษยนิยม (Humanism) ผู้เปี่ยมด้วยปัญญา และความรู้
สืบเนื่องจากศิลปะใน Renaissance เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์จึงเปี่ยม ด้วยปัญญาความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งมาจากการใช้หลักการองค์ประกอบศิลป์ (perspective) และหลักการคำนวณนี้เอง ความงามจึงหมายถึงความกลมกลืนของทุกสิ่งที่อยู่รวมกัน เป็น “harmony of the parts”
แนวคิดของ Leonardo da Vinci (1452-1519)
ดาวินชี่เชื่อว่าศิลปะคือวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือของหลักการในการเปิดเผยความจริง และสุนทรียศาสตร์คือหลักปรัชญา ความรู้ ที่จะทำให้เราเข้าใจอะไรบางอย่าง ดังนั้น ในการเปิดเผยความจริงในทางศิลปะให้ปรากฏ ศิลปินจะต้องมีความรู้ผ่าน การขวนขวายและศึกษาความคิด ปรัชญาเพิ่มเติมเสมอ
แนวคิดของ Michelangelo (1475-1564)
ผลงานของมิคาลันเจโลสะท้อนแนวคิดของยุคกรีก และแนวคิดเกี่ยวกับคริสตศาสนา โดยเขาเชื่อว่า
0.ศิลปะต้องการความรู้พิเศษ
0.ศิลปะต้องใช้หลักเพอร์สเปกทีฟและความรู้เชิงกายภาพ (anatomy)
0.ศิลปะสะท้อนลักษณะหนึ่งของธรรมชาติสูงส่ง (divine in nature)
ทั้งนี้ความงาม (Beauty) จะประกอบไปด้วย
0.ความเป็นระเบียบ (order)
0.ความกลมกลืน (harmony)
0.ความมีสัดส่วนสมบูรณ์ (proportion)
Alexander Baumgarten
Edmund Burke
David Hume
หลังศตวรรษที่ 18 แนวคิดสุนทรียศาสตร์ได้ถูกศึกษาแยกออกจากแนวคิด ปรัชญา และเกิดแนวคิดปรัชญาศิลป์ (Philosophy of Art) ขึ้น บุคคลแรกที่กล่าวถึง ปรัชญาศิลป์ก็คือ Baumgarten
Alexander Baumgarten (1714-1762)
Baumgarten ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของสุนทรียศาสตร์ (the father of aesthetic) เนื่องจากเขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Aesthetica และเป็นคนแรกที่ให้ความสนใจใน ประเด็นที่ว่ามนุษย์รับรู้สุนทรียศาสตร์อย่างไร และส่งอิทธิพลต่อแนวคิดของ Kant เป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านั้น การรับรู้ทางธรรมชาติ มีแต่ความคลุมเครือ มนุษย์ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ความงามมาจากไหน และมาอย่างไร แต่ในยุคของ Baumgarten นี้มีแนวคิด ทฤษฎีปรากฏขึ้น อย่างมาก และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจสภาวะของความเป็นมนุษย์อย่าง ลึกซึ้ง อาทิ แนวคิด วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เป็นต้น
Baumgarten พูดถึง “Aesthetic” ในลักษณะเป็นความงามทางธรรมชาติ สามารถอธิบาย ด้วยการนำหลักการของวิทยาศาสตร์ (การอธิบายเชิงหลักการ) มาอธิบายความรู้สึก ภายในใจ สภาวะความปั่นป่วนของมนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีไม่ใช่ข้อสรุป อย่างแท้จริง และประเมินผลได้ เนื่องจากบัญญัติทางทฤษฎี ศิลปะที่นำมาใช้นั้นมีความ แตกต่างกันไปในแต่ละยุค แต่ละแนวคิด
ผลงานของ Baumgarten จึงเป็นการยกระดับสภาวะทางสุนทรียศาสตร์ส่วนบุคคล ให้เป็น ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic Knowledge) ผ่านการใช้ผลงานศิลปะ เป็นสื่อกลาง (medium)
“ประสบการณ์ของสุนทรียศาสตร์ของBaumgarten” คือความสามารถที่เกิดจาก การสะสมของความรู้ ความคิด ของศิลปิน โดยใช้ทักษะประสบการณ์ กลั่นกรอง เรียงลำดับความคลุมเครือ ทางความรู้สึกภายในได้อย่างมีชั้นเชิง และชัดเจน ศิลปินคือผู้มีทักษะ ความสามารถในการเรียง ลำดับความโกลาหลภายในของความเป็นคนด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้
David Hume (1711-1776)
Hume เป็นนักปรัชญาชาวสกอตในยุคแสงสว่างแห่งปัญญา ผู้นำ “รสนิยม” (taste) มาอธิบายความรู้สึกปั่นป่วนภายในใจของมนุษย์ แทนคำว่า “สุนทรียศาสตร์” ที่มักจะเน้น ไปเฉพาะในทางศิลปะ ซึ่ง Hume มองว่ารสนิยม คือการแสดงออกถึงความชื่นชอบอย่างหนึ่ง หมายความได้ถึงประสบการณ์ การรับรู้ของผู้ชมหลายๆ คนที่มีความเห็นไปในทางเดียวกัน จนกลายเป็นข้อตกลงที่ประจักษ์เห็นได้ และ/หรือประสบการณ์ความชอบส่วนบุคคลที่นำมา แบ่งปันกับอีกหลายๆ คนเพื่อหาข้อสรุปร่วมที่สอดคล้องกัน
ทั้งนี้ Hume มักจะกล่าวถึงเรื่องรสนิยมมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องความงาม ความกลมกลืน ตามอย่างแนวคิดของ Hutchson และนักปรัชญาในยุคกลางคนอื่นๆ แทนที่ Hume จะให้ความสำคัญกับ ศิลปะจากคุณภาพของตัวงาน เขากลับเน้นไปที่การมีประสบการณ์การชม การฟังของคนดู กล่าวคือให้ความสำคัญกับ Aesthetic Experience เทียบเท่ากับ Aesthetic Properties
สำหรับ Hume ผลงานที่สวยงามคือ การมีประสบการณ์ร่วมทางการรับรู้ของคนหลายๆ คน จนมีความเห็นพ้อง มีประสบการณ์ร่วมกัน โดยความเห็นพ้องนั้นสามารถอยู่ยืนยงท่ามกลาง การเปลี่ยนผ่านของเวลาได้ ปรากฏในผลงาน “Standard of Taste” อย่างไรก็ตาม คนที่มี รสนิยมส่วนตัวที่แตกต่างออกไป การจะทำให้รสนิยมของตนเองเป็นที่ยอมรับจะต้องนำ ประสบการณ์ รสนิยมของตนเองในหลายมุมมอง มาเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นๆ หรือรสนิยม ของคนอื่น เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นกลาง
ดังนั้น ความงามก็คือสิ่งที่คนเห็นพ้องต้องกันว่างามนั่นเอง
Edmund Burke (1729-1797)
ผลงานของ Burke คือ Philosophical Enquiry into the Origin of our Ideas of the Sublime and beautiful แนวคิดของ Burke เต็มไปด้วยความต้องการในการกลับไปหาต้นไอเดีย ในเรื่องความคลุมเครือ สภาวะสูงส่งของจิต (sublime) และความสวยงาม (beauty) โดยเขาเชื่อว่า ประสบการณ์ในการระเหิดของจิต (the experience of sublime) สามารถ ที่จะนำไปสู่การเป็นความต้องการทางสังคมได้ (social passion) เพราะว่าบางอย่างไม่ได้ถูก กระแทกด้วยพลังศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น มนุษย์จึงต้องเผชิญอยู่กับความคลุมเครือจนสามารถที่จะ ไคร่ครวญถึงสาระที่แท้จริงของชีวิตได้
Burke ไม่เชื่อว่าความงามสูงส่งจะทำให้เกิดการใคร่ครวญ หากแต่เป็นความต้องการ แรงปรารถนา (passion) ทั้งในทางเพศสัมพันธ์ ที่จะทำให้เกิดการไม่ยอมจำนน จนนำมาสู่ การเกิดความเห็นอกเห็นใจ (sympathy) เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ของประสบการณ์ในการระเหิดของจิตที่ก้าวข้ามความต้องการไปสู่ความงามที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ ศิลปะจึงต้องกลับมาพิจารณาในเรื่องชีวิตที่แท้จริงอีกครั้ง โดยมองว่า สาระสำคัญของชีวิต จะทำให้เกิดการค้นพบสัจธรรม เช่น ตัวอย่างงานสัจนิยม (Realism) ของโกยา (Goya) เป็นต้น
Burke มองว่าลัทธิสุขนิยมจะนำมนุษย์ให้หลงไปในความสวยงาม จนไม่อาจอดทน ต่อความทุกข์ และความเจ็บปวดได้ การฉายภาพความไม่น่าพิศมัยของชีวิต จะนำมาซึ่ง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและเข้าใจชีวิตมากขึ้น เพราะมนุษย์ไม่เคยมีสติในขณะที่พวกเขา กำลังมีความสุข
Immanuel Kant
Samuel Coleridge
Immanuel Kant (1724-1804)
ผลงานสำคัญของคานท์คือ Critique of Judgment, 1790 ซึ่งเป็นการพูดถึง สุนทรียศาสตร์ของมนุษย์ ว่ามีกลไกในการสร้างความรู้สึกชอบ หรือความรู้สึกไม่ชอบอย่างไร ก่อนหน้านี้คานท์มีการพูดถึงแนวคิดเรื่องรสนิยม (concept of taste) มาก่อน ที่มองว่าการยก ระดับของจิตจะนำมาสู่การเกิดความงาม หากแต่ในตอนนั้นคานท์ใช้การศึกษาแบบแยกส่วน ในการศึกษาเรื่องของความงามกับสภาวะสูงส่งของจิต แต่ในภายหลังเขาได้พยายามเชื่อมโยง ทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกันด้วยการใช้จริยธรรม ดังนั้นเมื่อพูดถึงความงามจึงไม่ได้หมายถึงแค่ตัววัตถุ เท่านั้น แต่เน้นไปที่การที่มนุษย์มีประสบการณ์ต่อสิ่งนั้นๆ ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตามคานท์ไม่ได้พิจารณารูปทรงของความสวยงาม ตามแนวคิดของเพลโตและ นักปรัชญาในยุคกลางคนอื่นๆ เขาพิจารณาความงามด้วยการใช้การตัดสินใจจากรสนิยม (Judgment of taste) ในลักษณะของปัจเจก (subjectivism) และความเป็นสากล (universal) ที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันเป็นสำคัญ ดังนั้น ความงามจึงกลายเป็นภาพซ้อนของความเป็นปัจเจก และความเป็นสากลทางความคิดในเวลาเดียวกัน
พร้อมกันนี้คานท์เชื่อมโยงสภาวะความงามอย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ความดี และจริยธรรม (ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการคิด) เนื่องจากความงามคือสัญลักษณ์ของการกระทำของจิต (mental act) ในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งมองการใช้เหตุผลเป็นเรื่องส่วนบุคคล โดยมองว่ามนุษย์มี เหตุผลกำกับกิจกรรมความเป็นอยู่เสมอ หากแต่มีในระดับที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้คานท์จึงได้ เช่ือมโยงความงามกับเหตุผลที่ปราศจากจุดประสงค์ (purposive without purpose) เข้าด้วยกัน เขาคิดว่าวิธีการนี้จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นและก้าวข้ามเงื่อนไขต่างๆ ที่ผูกติดอยู่กับมนุษย์ไป
และเนื่องจากคานท์มองว่ามนุษย์มีการตัดสินทางด้านสุนทรียศาสตร์มากพอกัน หรือมี “priori principle” อันเป็นความเข้าใจสากล มนุษย์จึงมีหลักการแห่งเหตุผล (reason) กำกับ กิจกรรมความเป็นอยู่เสมอ หากแต่มีในระดับที่ไม่เท่ากัน ด้วยหตุนี้ มนุษย์จึงต้องพัฒนาศักยภาพ ในการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เช่นเดียวกันกับศิลปินที่มีศักยภาพจะต้องมีการ พัฒนาการใช้เหตุผลอยู่เสมอ โดยเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลที่ปราศจากจุดประสงค์ (purposive without purpose) ที่ไม่ยึดติดในการใช้เหตุผล ซึ่งคานท์มองว่าทำให้มนุษย์หลงติดอยู่ในกับดัก ของการมีอิสรภาพ
แนวคิดของคานท์เรื่องความงาม
0.สภาวะความงามต้องก้าวข้ามความสนใจ (disinterested) เนื่องจากความงาม อยู่ได้ด้วยตนเอง อย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะถ้ามีเงื่อนไขจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด
0.ความสนใจ (pleasure) นำมาซึ่งความใส่ใจ (attention) ที่จะเชื่อม ความคิดแบบปัจเจกวิสัย (subjective) กับความคิดแบบอัตวิสัย (objective) โดยจะต้อง มีความสนใจ ความหลงใหล ที่ไปไกลกว่าความหลงใหล (beyond pleasure) ซึ่งมนุษย์จะต้อง พึงระวังและก้าวข้ามไปให้ได้
0.สภาวะความงามมีความเป็นสากล (universal) และจำเป็นต่อการเป็นอยู่ ความมีชีวิต (necessary) อันเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้โดยทั่วกัน (common sense)
0.สภาวะความงามมีจุดประสงค์ (purpose) แต่จะต้องเป็นจุดประสงค์ที่ไม่มีจุดจบ ภายในตนเอง (purposive without purpose)
สำหรับในเรื่องความงาม (Beauty) คานท์เชื่อว่าการก้าวข้ามความสนใจ (disinterested) จะเป็นการตัดสินทางด้านความงาม ที่จะปลดปล่อยความสนใจนั้นให้เป็นอิสระและบริสุทธิ์ เนื่องจาก ความสนใจ (interest) ถูกนิยามโดยเชื่อมโยงกับเรื่องความต้องการและการกระทำ (real desire and action) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้คำว่าความสนใจมีความหมายเชื่อมโยงไปถึง การปรากฏอยู่ (real existence) ของวัตถุ ความสนใจโดยมีเงื่อนไขจะทำให้มนุษย์ยึดติดอยู่กับ การมองโลก ตัวอย่างเช่น ผลงานศิลปะที่ไม่ยึดติดอยุ่กับรูปทรง (form) รูปร่าง (shape) และการจัดการ (arrangement) การลงจังหวะ (rhythm) ฯลฯ เพียงอย่างเดียว แต่สนใจในการนำเสนอวัตถุ โดยที่ไม่ใส่ความรู้สึกลงไปด้วยวิธีต่างๆ เช่น สี (colour) โทน (tone) ในรูปแบบงานของพวก Formalism
ทั้งนี้ ผู้สอนมองว่ากลุ่ม Formalism ใช้แนวคิดของคานท์เพียงส่วนเดียว เพราะว่าคานท์เชื่อว่าความงามนั้นไม่มีคอนเซปต์ ศิลปินไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องมาก ควรปล่อยให้ งานศิลปะได้ถ่ายทอด ได้แสดงบทบาทในตัวชิ้นงานเอง อันจะเป็นการปล่อยให้ตัววัตถุผลงานได้ แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ในการทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจ
แนวคิดสภาวะสูงส่งของจิต (sublime)
คานท์แยกแนวคิดการระเหิดของจิตออกจากแนวคิดเรื่องความงาม เขามองว่า สภาวะ สูงส่งของจิตเข้าถึงได้โดยปราศจากรูปของวัตถุ (formless) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ปรากฏในแนวคิด ตะวันตกที่มองว่าญาณมีหลายระดับ และไม่มีขอบเขตเพื่อให้อิสระและเหตุผลได้ทำงานอย่าง เต็มที่ แต่เนื่องจากมนุษย์มักหวาดกลัวการปราศจากเรื่องขอบเขตจึงพยายามที่จะกำหนดขอบเขต ผ่านนิยาม การสร้างแผนที่ต่างๆ ขึ้นมา แต่สำหรับคานท์ เขากลับมองว่าความกลัวเหล่านั้น จะนำมาซึ่งการกีดกันอิสรภาพในการคิด และเหตุผล
การทำงานของศิลปิน
คานท์แนะนำให้ศิลปินปลดปล่อยพันธนาการ เงื่อนไขทางความคิด โดยไม่ยึดติดกับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากศิลปินคนใดทำได้ เขาผู้นั้นจะเป็นอัจฉริยะ (genius) ที่มีความสามารถ ทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในแนวคิดและตัวผลงานผ่านการสร้างความตื่นเต้น ความกลมกล่อม ของจิตที่ศิลปินได้พัฒนาฝึกฝนและแสดงออกในรูปของงานศิลปะ ซึ่งคานท์เรียก สภาวะนี้ว่า “สภาวะสูงส่งของจิต”
ต่อมาคานท์ได้ยืมนิยามคำว่า “ความงามกับการยกระดับชีวิตมาจากธรรมชาติ” ดังนั้น ทัศนศิลป์ (fine art) จึงกลายเป็นคอนเซปต์ที่สอง (secondary concept) เพราะว่าแบบอย่าง ทางด้านความงามมาจากต้นแบบจากธรรมชาติอันเป็นตัวอย่างเริ่มต้น (primary example) และจุดหมายปลายทาง (final purpose) เป็นเรื่องของการกระทำทางจิต (mental action) อันหมายถึงความดีสูงสุด ซึ่งความดีสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่เต็มไปด้วยเหตุผลที่ผู้มีหน้าที่ทุกคน พึงกระทำ
ทั้งนี้การกระทำทางจิตสามารถทำได้จริงผ่านการมีอิสรภาพ การละทิ้งพันธนาการต่างๆ และการยกระดับทางจิต ดังนั้น “Summum Bunum” ของคานท์จะถูกแสดงออกผ่านการกระทำ ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรม และสมบูรณ์ในตัวเอง และถ้าหากต่างคนต่างมีการกระทำทางจิตเป็น ของตนเอง การกระทำกิจกรรมของมนุษย์จะเป็นสิ่งที่คานท์เรียกว่า “กิจกรรมของผู้มีจริยธรรม” (activity of a moral author of the world)
Samuel Coleridge (1772-1834)
ในขณะที่คานท์เป็นนักอภิปรัชญา คอโลริดจ์ผู้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของคานท์ ที่มีปัญหาเรื่องการตีความกลับมีความคิดเห็นที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
คอลอริดจ์เห็นด้วยกับแนวคิดการละทิ้ง ความสนใจ (disinterested) มาสนใจ ความงามแบบไม่มีเงื่อนไข เขามองว่าความงามอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มีเหตุผลในเรื่องของ การใช้สอยมาเกี่ยวข้อง การอยู่เหนือความต้องการ การรับรู้ ความชื่นชมของมนุษย์ เองว่าความงามเป็นเรื่องของโลกเหนือผัสสะ (intuitive) ไม่ใช่การทำสำเนาธรรมชาติ และไม่ใช่ การเลียนแบบธรรมชาติ เนื่องจากศิลปะมีจุดประสงค์ในตัวเอง มีหน้าที่เชิงจริยธรรมยกระดับ ชีวิตมนุษย์ หลุดพ้นจากการใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณ (consciousness) ศิลปะจึงไม่อาจ หลีกเลี่ยงจากการพิจารณาเรื่องจริยธรรม
ด้วยเหตุนี้ การเรียนการสอนศิลปะต้องเริ่มจากการฝึกในเรื่องพื้นฐานความเชื่อว่า ศิลปะ เป็นโลกเหนือผัสสะ การตัดสินที่ตกอยู่ภายใต้การใช้ความรู้สึกตามกฎธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณของมนุษย์สามารถถูกยกระดับด้วยกิจกรรมที่ผ่านพ้นการพิจารณาทั้งภายในและ ภายนอก (inside-outside/external-internal) ผลงานศิลปะจึงต้องสร้างให้เกิดการเชื่อมโยง งานศิลปะกับจิตใจภายใน ความใคร่ครวญในทางจริยธรรมได้ เพื่อยกระดับทางความคิด
Georg Wilhelm Fredrich Hegel (1770-1831)
ประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวงานศิลปะจะช่วยยกระดับจิตวิญญาณ ของมนุษย์ ศิลปะจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปรัชญาสาขาอื่นๆ ในฐานะเป็นสื่อที่จะช่วยยก ระดับจิตใจมนุษย์ โดยจะเป็นความหวังใหม่ เป็นสถาบันใหม่ แทนที่สถาบันเก่าที่ล่มสลายไป
เฮเกลมองว่าหน้าที่ของปรัชญาคล้ายกับบทกวี (poetry) ที่มีลีลาสวยงาม ไม่ใช่แค่เป็น การถ่ายทอดเรื่องราวที่มีตรรกะ แต่เป็นการพูดถึงเรื่องราวการมีชีวิตของมนุษย์ได้อย่างน่าสนใจ ดังนั้น ผลงานปรัชญาของเฮเกลจึงเน้นนำเสนองานที่มีมนุษย์เป็นตัวหลักอยู่ในงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ถูกยกระดับขึ้นได้ด้วยปรัชญาแนวความคิดของเฮเกลสรุปได้โดย รวมดังนี้
0.ศิลปะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์
0.ศิลปะมีเหตุผล ซึ่งไม่ใช่เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์
0.การเกิดขึ้นของสถาบันศิลปะ การจัดการ โครงสร้างความรู้ด้านศิลปะอย่างมีหลักการ จะทำลายกรอบการรับรู้ ประสบการณ์ในการรับรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากกรอบแนวคิดจะเป็นตัว จำกัดความคิด และทำลายการเข้าถึงประสบการณ์สุนทรียศาสตร์
0.การพิจารณาผลงานศิลปะจะต้องพิจารณาแบบองค์รวมทั้งหมด
Arthur Schopenhauer (1788-1860)
Schopenhauer เชื่อว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรีของตนเอง และโลกก็มีเจตจำนงเสรีเช่นกัน การจะสร้างการพัฒนาให้เกิดขึ้นจะต้องพัฒนาทั้งสองสิ่งควบคู่กันไป อันจะก่อให้เกิดแรงผลัก ให้มนุษย์เกิดความสร้างสรรค์
ศิลปะเป็นศูนย์กลางของระบบความคิดเชิงปรัชญา สำหรับโชเปนฮาวเออร์แล้วเน้นให้ มนุษย์มีศรัทธาในเจตจำนงของตนเอง ซึ่งต่างจากคานท์ที่มองว่าศิลปะต้องผสานจุดประสงค์ของ ตัวเองเข้ากับกรอบศีลธรรมอันดี แต่ทั้งนี้ศิลปะจะต้องเปิดเผยให้เห็นภาพอันเลวร้ายของสังคม โศกนาฏกรรมที่เป็นอยู่ด้วย อันจะเป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความทะยานอยาก (ในแง่ดี) และทำให้เจตจำนงของมนุษย์ทำงาน โดยโชเปนฮาวเออร์เชื่อว่าสาระแห่งชีวิตที่ดีจะทำให้เกิด สาระที่ดีของสังคมด้วย
ผลงานที่สำคัญของเขาก็คือ The World as Will and Representation ซึ่งส่งผลต่อการเกิดผลงาน The Birth of Tragedy ของ Nietzshe
Friedrich Nietzsche (1844-1900)
นิทเช่เชื่อในเจตจำนงเสรีเช่นกัน เขามองว่าเจตจำนงเสรีเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรม ศิลปะที่ดีจะต้องส่งเสริมชีวิต ทำให้ชีวิตมีคุณค่า และส่งเสริมเจตจำนงเสรีของมนุษย์ผ่านการ ทำงานของศิลปิน ที่มีเจตจำนงเสรีเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรตั้งคำถามว่าศิลปะที่ดีคืออะไร แต่ควร พิจารณาว่าศิลปะจะช่วยส่งเสริมชีวิตได้อย่างไร
มนุษย์มีสองประเภทคือ
0.มนุษย์ที่มีศีลธรรมแบบนาย (master morality)
0.มนุษย์ที่มีศีลธรรมแบบทาส (slave morality)
ดังนั้น การมีสำนึกรู้ที่จะเลือกสถานะให้กับตัวเองว่าจะมีศีลธรรมแบบนาย หรือมีศีลธรรม แบบทาสนั้น จะต้องก้าวข้ามความปั่นป่วนภายในใจให้ได้ โดยมนุษย์ต้องมีเจตจำนงเสรีเป็น ของตนเอง และปฏิเสธกฎข้อบังคับเดิมๆ ทั้งนี้ ถ้าใครทำได้นิทเช่จะเรียกมนุษย์ผู้นั้นว่า เป็นอภิมนุษย์ (superman)
ความสอดคล้องทางแนวคิดของนิทเช่และโชเปนฮาวเออร์คือ มนุษย์มักจะอยู่ในโลก ของความคุ้นชิน ความกลัวที่จะค้นหาเรื่องราวที่ไม่เคยรู้จัก และกลัวความน่าเบื่อ ด้วยเหตุนี้ สุนทรียศาสตร์ในการมีชีวิตคือการใช้ชีวิตโดยให้เจตจำนงทำงานอย่างมีอิสระ ไม่ยึดติดกรอบ ความเป็นจริงแบบเดิม ไม่หลีกหนีปัญหา ไม่หนีความจริง เช่นเดียวกับผลงานในยุคโรแมนติคส์ ที่ปล่อยให้มนุษย์ได้เผชิญหน้ากับความเป็นจริงผ่านผลงานโศกนาฏกรรม ที่เปิดเผยให้มนุษย์ ได้รู้จักชีวิตมากขึ้น
Leo Tolstoy (1828-1910)
John Dewey (1859-1952)
Walter Benjamin (1892-1940)
Leo Tolstoy (1828-1910)
ผลงานสำคัญของตอลสตอยก็คือ What is art? มองว่าศิลปะจะพาผู้ชมไปสู่โลกอื่น ที่ไปไกลกว่าโลกศิลปะเพื่อศิลปะได้
ผู้สอนเปรียบเทียบผลงานศิลปะในยุคกลางว่าทำหน้าที่เป็นลิฟท์พาผู้ชมไปสำรวจความ สูงส่งของชีวิต ซึ่งยังปรากฏในงานของตอลสตอยในสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ ในรัสเซียเต็มไปด้วย ความล่มสลายทางศรัทธาของศาสนจักร แต่เขาก็ยังเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจขาดหรือละทิ้งศรัทธา ด้วยเหตุนี้งานของเขาจึงเต็มไปด้วยมิติทางจิตวิญญาณตามขนบของคริสเตียนนิกาย ออธอดอกซ์ใน รัสเซีย
Whai is art? ของตอลสตอยจึงพยายามหาทางออกให้กับชีวิตมนุษย์ ด้วยการเสนอว่า ศิลปะจะต้องทำหน้าที่เป็นความหวังใหม่ นำผู้ปฏิบัติ ผู้ชม ไปสู่โลกทางจิตวิญญาณ โลกแห่งความหวัง
สำหรับตอลสตอย ศิลปะยืนอยู่บนพื้นฐานทางจริยธรรม (ethic) การหยั่งรู้ ดังนั้นศิลปะจึงเป็นจริยธรรม เป็นสากล ที่ทุกคนรู้และเข้าใจตรงกัน ต่อสิ่งที่พึงกระทำอยู่ ทั้งนี้ ปัจเจกบุคคลจึงไม่มีอำนาจพอที่จะตัดสินว่าอะไรเป็นศิลปะหรือไม่ใช่ หากแต่ตัวศิลปะเองเท่านั้น ที่จะนำพาไปสู่ความหวัง ความสูงส่งทางจิต ด้วยเพราะตอลสตอยผิดหวังในศาสนาคริสต์นิกาย ออธอดอกซ์ ที่เต็มไปด้วยการโกง คอร์รัปชั่น ทำให้มนุษย์ละทิ้งพื้นฐานทางจริยธรรม (moral ground) ไปสู่การฝากความหวังไว้ที่ศิลปะ
ศิลปะ และจริยธรรม จะทำให้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน หน้าที่ของศิลปะจึงจะต้องช่วย ยกระดับสังคม และจริงใจที่จะทำงานศิลปะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ตอลสตอยมองว่าจะสะท้อนอยู่ในรูปของ การจัดองค์ประกอบที่กลมกล่อม
John Dewey (1859-1952)
Dewey เป็นนักการศึกษา และนักปรัชญาสาย Pragmatism และมีทัศนะต่อ ศิลปะที่น่าสนใจ ผลงานของเขาคือ Art as Experience (1934) ที่มองศิลปะในฐานะ ประสบการณ์ที่ศิลปินและผู้ชม เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
แนวคิดของ Dewey ถือว่าเป็นโมเดลทางการศึกษาที่สำคัญ (Model of learning activity) เขาเน้นให้นักเรียนศึกษาฝึกหัดจากการลองปฏิบัติ (Learning by doing) และมองว่ากิจกรรม ทางศิลปะนั้นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด เรียนรู้จากบริบท สังคม สิ่งแวดล้อมที่ตนเอง อาศัยอยู่ ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์จึงต้องเรียนรู้อยู่เสมอ
แนวคิดของ Dewey ที่สำคัญคือ
0.ประสบการณ์ คือกระบวนการในธรรมชาติที่ไม่มีข้อสรุป เป็น “สัจจะของธรรมชาติ”
0.การศึกษามีความสำคัญทำให้เข้าใจสาระสำคัญของการมีประสบการณ์ เป็นการ เปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสัจธรรมก็คือการเรียนรู้ในกระบวนการ ที่จะเปิดโอกาส ให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกและสังคม
ทั้งนี้ Dewey มองว่า ในโลกศิลปะนั้นได้มีส่วนตัดขาดกระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ ในเรื่องของการสร้างประสบการณ์ต่อศิลปะ ด้วยวิธีการสอนแบบสั่งสอน สร้างกรอบในการทำงาน ศิลปะ และปิดกั้นการเรียนรู้โดยอิสระ
ประสบการณ์จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่แวดล้อมเท่านั้น แต่หมายถึงการมี ปฏิสัมพันธ์ (interaction) การสร้างความเกี่ยวข้องที่ไม่รู้จักจบ ร่วมกันสร้างความหมายระหว่าง ศิลปินและผู้ชมในพื้นที่สาธารณะ สุนทรียศาสตร์สายประสบการณ์ (Aesthetic experience) ที่ได้รับจึงไม่ได้เป็นสิ่งตายตัว หากแต่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ เช่น แนวคิดการสร้าง งาน happening art, performance art เป็นต้น
Walter Benjamin (1892-1940)
บทความสำคัญของเบนจามินคือ Work of art in the age of mechanism reproduction
เบนจามินเชื่อว่าศิลปะจะต้องนำพาประสบการณ์ของมนุษย์ไปสู่โลกของความคิด โลกลี้ลับ ของจักรวาลทรรศ ความรู้ที่สะท้อนผ่านทางโครงสร้างภาษาแบบกวีศาสตร์ เพราะว่า โลกสมัยใหม่นั้นเปราะบางและกระจัดกระจาย ทำให้มนุษย์ถูกตัดขาดแยกจากกัน มนุษย์จึง โดดเดี่ยวอยู่ภายใต้ระเบียบโครงสร้างสังคม ที่เต็มไปด้วยกฎและระเบียบข้อบังคับ
แนวคิดศิลปะของเบนจามินมีขึ้นเพื่อชุบชีวิต คืนความหวังให้กับความเป็นคนและ วิพากษ์โลกสมัยใหม่ที่แยกมนุษย์ออกจากกัน ด้วยเหตุนี้ศิลปะจึงต้องทำหน้าที่เชื่อมโยงมนุษย์ และทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้มนุษย์มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทั้งนี้ เบนจามิน มองว่าการที่ศิลปะจะเป็นงานที่ดีได้นั้น หรือจะสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องผ่านการวิจารณ์ ที่ดีเช่นกัน
เบนจามินพูดถึงเรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวันในการทำงานศิลปะ (ordinary life) การใช้วัสดุง่ายๆ (ready made) และพูดถึงเรื่องประสบการณ์การรับรู้ของมนุษย์ โดยสะท้อนให้เห็นว่า โลกแห่งความรู้เดิมที่เป็นอภิปรัชญานั้น ปิดกั้นการเรียนรู้ ปิดกั้นการใช้ชีวิต แบบธรรมดาจึงพยายามดึงแนวคิดปรัชญาลงสู่พื้นดิน และสะท้อนผ่านผลงานศิลปะที่ใช้วัสดุ เรียบง่าย และหาได้ทั่วไป เช่นงานของ Marcel Duchamp
Clive Bell (1881-1964)
Martin Heidegger
Ludwig Wittgenstein
Clive Bell (1881-1964)
เบลล์สนใจศิลปะก่อนสงครามโลกที่สะท้อนประสบการณ์ส่วนตนของผู้ทำ ในผลงาน Abstract Art
เบลล์มองว่าประสบการณ์ในงานศิลปะต้องถูกยกระดับจากการประกอบกันของรูปทรง (องค์ประกอบศิลป์) ความสัมพันธ์ทางธาตุของทัศนศิลป์ ซึ่งก็คือเส้นและสี นั่นเอง โดยเบลล์มองว่าธาตุทางทัศนศิลป์ไม่ใช้ลักษณะตามคำอธิบายแบบวิทยาศาสตร์
เดิมแนวคิดนักปรัชญาก่อนหน้า เช่นมองว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ ศิลปะ มาจากประสบการณ์ ศิลปะคือการแสดงออก ฯลฯ แต่สำหรับเบลล์เขามองว่า ศิลปินไม่ได้ ทำหน้าที่เลียนแบบธรรมชาติ แต่ศิลปินทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปินลงไปในรูปของ คนๆ นั้น ศิลปะจึงไม่ใช่การสำแดงออกของรูปทรง ไม่ใช่การนำเสนอภาพแทน (representation) แต่เป็นการสร้างฟอร์มเฉพาะ
การจะเข้าใจศิลปะบริสุทธิ์ได้จะต้องละทิ้งแนวคิดเรื่องภาพแทนของวัตถุในชีวิตของ มนุษย์ ละทิ้งการมองศิลปะด้วยการให้ความหมายแบบเดิม เนื่องจากเบลล์ทาบผลงานศิลปะ เข้ากับผลงานสูงสุดของพระเจ้า การเข้าถึงรูปทรงศักดิ์สิทธิ์ของศิลปะก็คือการเข้าถึงโลกบริสุทธิ์ เข้าถึงพระเจ้า ความงามตามทัศนะของเบลล์จึงไม่ใช่ความงามในรูปแบบของ Plastic Art ประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์จึงเป็นประสบการณ์ของจิตที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจเรื่อง ของความดีงาม (goodness)
ดังนั้น การปรากฏของการดีไซน์ แพทเทริน์ เท็กซ์เจอร์ จึงเป็นเพียง expressive quality ที่แสดงออกในรูปของ subject matter ในขณะที่รูปทรง (significant form) จะต่อต้าน (manifest) ตัวมันเอง และทำให้ผู้ชมฉุกคิดขึ้นมาได้
Martin Heidegger (1889-1976)
ผลงานสำคัญของเขาคือ The Origin of the work of art (1950)
จุดเริ่มต้นของศิลปะ ไฮเดกเกอร์มองว่ามีเพื่อส่งเสริมการมีอำนาจในสังคม หากแต่เขา ก็มองว่าศิลปะนั้นมีความสำคัญมากกว่าสุนทรียศาสตร์ เป็นสิ่งที่ทำให้ศิลปะจับต้องไม่ได้ เนื่องจากแนวคิดปรัชญาศิลป์ก่อนหน้าพยายามที่จะทำให้ศิลปะเป็นวิทยาศาสตร์ จับต้องอธิบาย แบบเป็นเหตุเป็นผลได้ ซึ่งไฮเดกเกอร์มองว่าแนวคิดเช่นนี้ทำให้ศิลปะแห้งแล้ง จนกระทั่งศิลปะ มาถึงจุดจบอย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดการศึกษาศิลปะในแง่สุนทรียศาสตร์เกิดขึ้น
สำหรับไฮเดกเกอร์ ศิลปะที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์เป็นหลัก จากนั้น จึงนำไปสู่การเลือก เทคนิคในการสื่อสารและแสดงออกภายหลัง หากแต่ในปัจจุบันศิลปินทั่วไป มักยึดติดในเทคนิค มากกว่าจะให้ความสำคัญกับแนวคิด คอนเซปต์และเนื้อหาจึงเป็นสิ่งที่ถูกลดค่าลงเหลือเพียงเป็น รูปแบบการนำเสนอ
Ludwig Wittgenstein (1889-1951)
วิตเกนสไตน์เขียน Philosophical Investigation ขึ้นมาเพื่อวิพากษ์หนังสือเล่มแรก ของตัวเขาเองว่าเป็น “การหลงทาง”
การที่จะทำความเข้าใจร่วมกันได้จะต้องรู้ข้อกำหนดทางภาษาร่วมกัน เช่นเดียวกับการจะ เข้าใจผลงานศิลปะจะต้องมีความเข้าใจอันเกิดจากการรับรู้ มีประสบการณ์กับผลงานนั้นๆ โดยตรง
วิตเกนสไตน์จึงเชื่อว่า การเป็นศิลปินจะต้องทดลองเรียนรู้การสร้างงานในรูปแบบต่างๆ ศึกษาการตอบรับ ปฏิกิริยาของผู้ชม คำวิจารณ์ต่างๆ โดยใช้หลักการนำศิลปะเข้ามาวางไว้ในชีวิต ประจำวันผ่านการสร้างความหมายของศิลปะร่วมกันนั่นเอง